วันพุธที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2552

วิธีการทำปุ๋ยหมัก

โดย นายสวัสดิ์ สมวรรณ

1. ปุ๋ยหมัก คืออะไร

ปุ๋ยหมัก คือ ปุ๋ยอินทรีย์ หรือปุ๋ยธรรมชาติชนิดหนึ่งที่ได้มาจากการนำเอาเศษซากพืช
เช่น ฟางข้าว ซังข้าวโพด ต้นถั่วต่างๆ หญ้าแห้ง ผักตบชวา ของเหลือทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรม ตลอดจนขยะมูลฝอยตามบ้านเรือนมาหมักร่วมกับมูลสัตว์ ปุ๋ยเคมีหรือสารเร่งจุลินทรีย์เมื่อหมัก โดยใช้
ระยะเวลาหนึ่งแล้ว เศษพืชจะเปลี่ยนสภาพจากของเดิมเป็นผงเปื่อยยุ่ยสีน้ำตาลปนดำนำไปใส่ในไร่นาหรือ
พืชสวน เช่น ไม้ผล พืชผัก หรือไม้ดอกไม้ประดับได้

2. ประโยชน์ของปุ๋ยหมัก

1. ช่วยเพิ่มปริมาณอินทรีย์วัตถุให้แก่ดิน ทำให้ดินอุดมสมบูรณ์
2. ช่วยเปลี่ยนสภาพของดินจากดินเหนียวหรือดินทรายให้เป็นดินร่วน ทำให้สะดวกในการไถพรวน
3. ช่วยสงวนรักษาความชุ่มชื้นในดินได้ดีขึ้น
4. ทำให้การถ่ายเทอากาศในดินได้ดี
5. ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ปุ๋ยเคมีและสามารถลดการใช้ปุ๋ยเคมีลงได้
6. ช่วยกระตุ้นให้ธาตุอาหารพืชบางอย่างในดินที่ละลายน้ำยากให้ละลายน้ำง่ายเป็นอาหารแก่พืชได้ดีขึ้น
7. ไม่เป็นอันตรายต่อดินแม้จะใช้ในปริมาณมากๆ ติดต่อกันนานๆ
8. ช่วยปรับสภาพแวดล้อม เช่น กำจัดขยะมูลฝอยและวัชพืชน้ำทั้งหลายให้หมดไป

3. วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำปุ๋ยหมัก (ขนาดกว้าง X ยาว X สูง = 2 X 4 X 1.2 เมตร)
1. เศษพืช 1,000 กก.
2. มูลสัตว์ 200 กก.
3. ปุ๋ยยูเรีย 2 กก.
4. สารเร่งจุลินทรีย์ 1 ชุด
5. หน้าดิน 150 - 200 กก.
6. เครื่องมือการเกษตร เช่น จอบ พลั่ว บัวรดน้ำ ส้อมสำหรับกลับกองปุ๋ย ฯลฯ

วิธีการทำปุ๋ยหมัก

1. นำเศษพืชมาเรียงให้ได้ขนาดขนาด กว้าง X ยาว X สูง = 2 X 4 X 0.3 เมตร
2. ขึ้นย่ำพร้อมรดน้ำให้ชุ่ม
3. ใส่มูลสัตว์ 50 กก. แล้วตามด้วยปุ๋ยยูเรีย 1/2กก.
4. ราดสารเร่งจุลินทรีย์ 50 ลิตร (เตรียมสารเร่งทั้งหมด 200 ลิตร แบ่งใส่ 4 ชั้น)
5. ทำชั้นที่ 2 - 4 เหมือนชั้นแรก
6. ชั้นบนสุดใช้หน้าดินหรือปุ๋ยคอกโรยให้หนา 1 - 2 นิ้ว
7. เอาทางมะพร้าวหรือผ้าพลาสติกคลุมเพื่อรักษาความชื้นและกันสัตว์มาคุ้ยเขี่ย

5. การดูแลรักษาหลังกองปุ๋ยหมักเสร็จแล้ว

1. ดูความชื้นในกอง ถ้าแห้งไปให้รดน้ำกองปุ๋ย ถ้าแฉะไปให้กลับกองปุ๋ย
2. กลับกองปุ๋ยหมัก เพื่อให้ระบายความชื้นและถ่ายเทอากาศดี จะทำให้จุลินทรีย์ทำงานได้ดีขึ้น
และเศษพืชกลายเป็นปุ๋ยหมักได้เร็วขึ้น ควรกลับกองทุก 7 - 14 วัน

6. การพิจารณาดูว่ากองปุ๋ยหมักใช้ได้แล้วหรือยัง

1. สีของเศษพืชจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้มหรือสีดำ
2. อุณหภูมิภายในกองปุ๋ยและภายนอกกองใกล้เคียงกัน
3. เศษพืชมีลักษณะอ่อนนุ่มยุ่ยไม่แข็งกระด้าง
4. ต้นพืชที่มีระบบรากลึกเกิดขึ้นในกองปุ๋ยหมัก
5. ดมดูจะมีกลิ่นคล้ายกลิ่นดินไม่เหม็นฉุน
6. ส่งวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการเพื่อดูอัตราส่วนระหว่างคาร์บอนต่อไนโตรเจน ถ้ามีค่า
เท่ากับ 20:1หรือน้อยกว่าแสดงว่ากองปุ๋ยหมักใช้ได้แล้ว
7. ขอรับการสนับสนุนสารตัวเร่งปุ๋ยหมักได้ที่สถานีพัฒนาที่ดินเชียงราย หรือสำนักงานเกษตร
อำเภอทุกอำเภอ

**************************

ไม้ประดับ

คุณลักษณะของพันธุ์ไม้ประดับ

ต้นไม้ประดับที่สามารถเลือกเอามาปลูกใส่ในกระถางตั้ง แขวน หรือภาชนะอื่นๆ ไว้ใช้ประดับในร่มภายในบ้าน อาคาร และในห้องต่างๆ นั้น ที่เหมาะสมที่สุดแล้วควรจะเป็นพวกต้นไม้ดอก เพราะว่าไม้ใบมีคุณสมบัติที่ทนทาน สามารถปรับเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี และมีใบให้ดูตลอดเวลา อีกทั้งใบยังมีลวดลายที่สวยงามต่างๆ กันให้เลือกปลูฟหลายชนิดพันธุ์อีกด้วย
ว่าไปแล้วไม้ประดับใอาคารก็คือไม้ใบนั่นเอง แต่ถ้าพิจรณาให้ดีแล้วจะพบว่า ต้นไม้ที่ใช้ปลูกประดับนั้น นอกจากทรงต้นแล้ว ต้นไหนจะงดงามมากน้อยเพียงใดก็ต้องพิจารณาจากคุณลักษณะดังต่อไปนี้
1. ลักษณะรูปร่างของใบ
2. ลวดลายหรือสีสันใบ
3. ลวดลายของเส้นใบ
4. การจัดรูปเรียงใบบนต้น
5. เนื้อของใบ

การปลูก

ในการปลูกต้นไม้ประดับมีวิธีการปลูกขึ้นอยู่กับชนิดพันธุ์ของต้นไม้ประดับที่เราเลลือกปลูก ซึ่งก็มีทั้งการปลูกในกระถางตั้งและกระถางแขวน เดี๋ยวนี้เรามีวิธีปลูกไม้ประดับวิธีใหม่กันแล้ว โดยใช้แท่งเพาะชำ ซึ่งสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ประยุกต์แห่งประเทศไทย ได้คิดค้นขึ้นมาเป็นผลสำเร็จ

การปลูกไม้ประดับในปัจจุบันจึงสามารถกระทำได้ 3 วิธี ด้วยกันคือ
1. การปลูกในกระถาง
การเลือกกระถางปลูกนั้นควรเป็นกระถางดินเผาที่มีขนาดและรูปทรงของกระถางเข้ากันกับขนาดและรูปทรงของต้นไม้ ดังนี้
- ทรงต้นเล็กใส่กระถางเล็ก
- ทรงต้นใหญ่ใส่กระถางใหญ่
- ทรงต้นสูง เช่น ปาล์ม ไผ่ฟิลิปินส์ ไผ่ ไทร พิกุล สาวน้อยประแป้ง เขียวหมื่นปี หวายเขียว ควรใช้กระถางทรงสูง
- ทรงต้นเตี้ยพุ่มใบต่ำหรือลำต้นทอดเลื้อย เช่น เฟิร์น ราชินีหินอ่อน เกล็ดปลา เศรษฐีเรือนนอกเรือนใน หนวดปลาหมึกด่าง ฯลฯ ควรใช้กระถางทรงต่ำ
สำหรับกระถางเคลือบ กระถางโมเสส หรือกระถางลายคราม ถ้าไม่จำเป็นไม่ควรใช้ปลูกโดยตรง เพราะเนื้อกระถางไม่สามารถระบายอากาศได้เป็นสาเหตุให้ดินในกระถางแฉะ เกิดรากเน่า นอกจากนี้ ยังเสี่ยงต่อการแตกเสียหายขณะยกเข้าหรือย้ายออก ที่เหมาะสมแล้ ควรใช้กระถางรองด้านนอก โดยเอาต้นไม้ปลูกใส่กระถางดินเผาธรรมดา แล้วนำไปตั้งปลูกในกระถางเคลือบหรือกระถางลายครามเหล่านั้นอีกครั้ง

2. การปลูกในกระถางแขวน
สำหรับไม้ใบประดับที่นิยมใช้ปลูกแขวนตกแต่ง เช่น พลูด่าง เดรฟ ปีกแมลงสาบ และเฟิร์น ซึ่งเป็นไม้แขวนที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย หรือต้นแมงมุม ต้นลิปสติก ต้นปลาบ หรือไม้เถาทั้งหลาย ก็ใช้ปลูกในกระถางแขวนประดับในทำนองที่กล่าวมานี้ได้

3. การปลูกในแท่งเพาะชำ
แท่งเพาะชำนี้ ส่วนบนของแต่ละแท่งจะมีรูไว้สำหรับใส่เม็ดหรือสำหรับปักชำ ข้อดีของการใช้แท่งเพาะชำในการปลูกไม้ประดับพวกที่ใช้แขวนก็มีดังนี้คือ
3.1 แท่งเพาะชำเป็นแท่งสำเร็จรูป สามารถนำไปใช้งานได้ทันที
3.2 ใช้สะดวก ไม่สกปรกเลอะเทอะเหมือนการใช้ดินปลูก
3.3 การปลูกทำได้สะดวกและรวดเร็ว เพียงแต่ใช้ยอดปักชำลงในรูบนแท่งเพาะชำก็เป็นอันใช้ได้
3.4 การดูแลรักษาทำได้ง่าย เนื่องจากแท่งเพาะชำสามารถเก็บความชื้นได้ดี จึงไม่จำเป็นต้องรดน้ำบ่ิยครั้ง
3.5 การให้ปุ๋ยก็สามารถตัดปัญหาได้มาก เนื่องจากในแท่งเพาะชำมีธาตุอาหารที่พืชต้องการอยู่พร้อมแล้ว นอกจากให้ปุ๋ยเสริมในบางโอกาสเพื่อให้ต้นไม้สวยงามเป็นพิเศษ

ปลาดุกอุย

ปลาดุกอุย
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา
ปลาดุกอุย
?Clarias macrocephalus Günther, ค.ศ. 1864


การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์[ซ่อน]

อาณาจักร Animalia
ไฟลัม Chordata
ชั้น Actinopterygii

อันดับ Siluriformes
วงศ์ Clariidae

สกุล Clarias
สปีชีส์ C. macrocephalus
ข้อมูลทั่วไป[ซ่อน]
ชื่อวิทยาศาสตร์ Clarias macrocephalus Günther, ค.ศ. 1864
ปลาดุกอุย หรือ ปลาอั้วะชื้อ (อังกฤษ: Broadhead catfish, Günther's walking catfish ; ชื่อวิทยาศาสตร์: Clarias macrocephalus) เป็นปลาน้ำจืดในวงศ์ Clariidae มีกระดูกท้ายทอยยื่นแหลมออกไปลักษณะคล้ายรูปสามเหลี่ยม ลำตัวสั้นป้อมกว่าปลาดุกด้าน ลำตัวมีสีดำปนเหลือง มีจุดขาวเล็ก ๆ เรียงเป็นแถวขวางลำตัวหลายแถว มีครีบหลังสูงกว่าปลาทั่วไปมาก สามารถเคลื่อนที่บนบกได้เป็นระยะทางสั้น ๆ โดยใช้ครีบช่วย พบได้ในพื้นที่แถบประเทศไทยไปจนถึงเวียดนาม และมีการนำไปเลี้ยงในประเทศจีน มาเลเซีย เกาะกวม และฟิลิปปินส์

บางคนเข้าใจผิดว่าปลาดุกอุยคือปลาดุกด้านตัวเมีย แต่ที่จริงเป็นปลาคนละสายพันธุ์กัน ปลาดุกอุยเป็นที่นิยมของผู้บริโภคชาวไทยและชาวลาวมากกว่าปลาดุกด้าน เนื่องจากเนื้อมีรสชาติมัน อร่อย มีราคาที่สูงกว่าปลาดุกด้าน จึงได้มีการเพาะเลี้ยงและผสมเทียมในบ่อ แต่ปัจจุบันได้นำมาผสมกับปลาดุกเทศ (Clarias gariepinus) เป็นปลาลูกผสม เรียกว่า "บิ๊กอุย" ทำให้โตเร็วและเลี้ยงง่ายกว่าปลาดุกอุยแท้ ๆ ซึ่งได้มีการเพาะเลี้ยงอย่างแพร่หลาย

ในภาษาใต้ เรียกปลาดุกอุยว่า "ดุกเนื้ออ่อน"