วันพุธที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2552

วิธีการทำปุ๋ยหมัก

โดย นายสวัสดิ์ สมวรรณ

1. ปุ๋ยหมัก คืออะไร

ปุ๋ยหมัก คือ ปุ๋ยอินทรีย์ หรือปุ๋ยธรรมชาติชนิดหนึ่งที่ได้มาจากการนำเอาเศษซากพืช
เช่น ฟางข้าว ซังข้าวโพด ต้นถั่วต่างๆ หญ้าแห้ง ผักตบชวา ของเหลือทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรม ตลอดจนขยะมูลฝอยตามบ้านเรือนมาหมักร่วมกับมูลสัตว์ ปุ๋ยเคมีหรือสารเร่งจุลินทรีย์เมื่อหมัก โดยใช้
ระยะเวลาหนึ่งแล้ว เศษพืชจะเปลี่ยนสภาพจากของเดิมเป็นผงเปื่อยยุ่ยสีน้ำตาลปนดำนำไปใส่ในไร่นาหรือ
พืชสวน เช่น ไม้ผล พืชผัก หรือไม้ดอกไม้ประดับได้

2. ประโยชน์ของปุ๋ยหมัก

1. ช่วยเพิ่มปริมาณอินทรีย์วัตถุให้แก่ดิน ทำให้ดินอุดมสมบูรณ์
2. ช่วยเปลี่ยนสภาพของดินจากดินเหนียวหรือดินทรายให้เป็นดินร่วน ทำให้สะดวกในการไถพรวน
3. ช่วยสงวนรักษาความชุ่มชื้นในดินได้ดีขึ้น
4. ทำให้การถ่ายเทอากาศในดินได้ดี
5. ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ปุ๋ยเคมีและสามารถลดการใช้ปุ๋ยเคมีลงได้
6. ช่วยกระตุ้นให้ธาตุอาหารพืชบางอย่างในดินที่ละลายน้ำยากให้ละลายน้ำง่ายเป็นอาหารแก่พืชได้ดีขึ้น
7. ไม่เป็นอันตรายต่อดินแม้จะใช้ในปริมาณมากๆ ติดต่อกันนานๆ
8. ช่วยปรับสภาพแวดล้อม เช่น กำจัดขยะมูลฝอยและวัชพืชน้ำทั้งหลายให้หมดไป

3. วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำปุ๋ยหมัก (ขนาดกว้าง X ยาว X สูง = 2 X 4 X 1.2 เมตร)
1. เศษพืช 1,000 กก.
2. มูลสัตว์ 200 กก.
3. ปุ๋ยยูเรีย 2 กก.
4. สารเร่งจุลินทรีย์ 1 ชุด
5. หน้าดิน 150 - 200 กก.
6. เครื่องมือการเกษตร เช่น จอบ พลั่ว บัวรดน้ำ ส้อมสำหรับกลับกองปุ๋ย ฯลฯ

วิธีการทำปุ๋ยหมัก

1. นำเศษพืชมาเรียงให้ได้ขนาดขนาด กว้าง X ยาว X สูง = 2 X 4 X 0.3 เมตร
2. ขึ้นย่ำพร้อมรดน้ำให้ชุ่ม
3. ใส่มูลสัตว์ 50 กก. แล้วตามด้วยปุ๋ยยูเรีย 1/2กก.
4. ราดสารเร่งจุลินทรีย์ 50 ลิตร (เตรียมสารเร่งทั้งหมด 200 ลิตร แบ่งใส่ 4 ชั้น)
5. ทำชั้นที่ 2 - 4 เหมือนชั้นแรก
6. ชั้นบนสุดใช้หน้าดินหรือปุ๋ยคอกโรยให้หนา 1 - 2 นิ้ว
7. เอาทางมะพร้าวหรือผ้าพลาสติกคลุมเพื่อรักษาความชื้นและกันสัตว์มาคุ้ยเขี่ย

5. การดูแลรักษาหลังกองปุ๋ยหมักเสร็จแล้ว

1. ดูความชื้นในกอง ถ้าแห้งไปให้รดน้ำกองปุ๋ย ถ้าแฉะไปให้กลับกองปุ๋ย
2. กลับกองปุ๋ยหมัก เพื่อให้ระบายความชื้นและถ่ายเทอากาศดี จะทำให้จุลินทรีย์ทำงานได้ดีขึ้น
และเศษพืชกลายเป็นปุ๋ยหมักได้เร็วขึ้น ควรกลับกองทุก 7 - 14 วัน

6. การพิจารณาดูว่ากองปุ๋ยหมักใช้ได้แล้วหรือยัง

1. สีของเศษพืชจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้มหรือสีดำ
2. อุณหภูมิภายในกองปุ๋ยและภายนอกกองใกล้เคียงกัน
3. เศษพืชมีลักษณะอ่อนนุ่มยุ่ยไม่แข็งกระด้าง
4. ต้นพืชที่มีระบบรากลึกเกิดขึ้นในกองปุ๋ยหมัก
5. ดมดูจะมีกลิ่นคล้ายกลิ่นดินไม่เหม็นฉุน
6. ส่งวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการเพื่อดูอัตราส่วนระหว่างคาร์บอนต่อไนโตรเจน ถ้ามีค่า
เท่ากับ 20:1หรือน้อยกว่าแสดงว่ากองปุ๋ยหมักใช้ได้แล้ว
7. ขอรับการสนับสนุนสารตัวเร่งปุ๋ยหมักได้ที่สถานีพัฒนาที่ดินเชียงราย หรือสำนักงานเกษตร
อำเภอทุกอำเภอ

**************************

ไม้ประดับ

คุณลักษณะของพันธุ์ไม้ประดับ

ต้นไม้ประดับที่สามารถเลือกเอามาปลูกใส่ในกระถางตั้ง แขวน หรือภาชนะอื่นๆ ไว้ใช้ประดับในร่มภายในบ้าน อาคาร และในห้องต่างๆ นั้น ที่เหมาะสมที่สุดแล้วควรจะเป็นพวกต้นไม้ดอก เพราะว่าไม้ใบมีคุณสมบัติที่ทนทาน สามารถปรับเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี และมีใบให้ดูตลอดเวลา อีกทั้งใบยังมีลวดลายที่สวยงามต่างๆ กันให้เลือกปลูฟหลายชนิดพันธุ์อีกด้วย
ว่าไปแล้วไม้ประดับใอาคารก็คือไม้ใบนั่นเอง แต่ถ้าพิจรณาให้ดีแล้วจะพบว่า ต้นไม้ที่ใช้ปลูกประดับนั้น นอกจากทรงต้นแล้ว ต้นไหนจะงดงามมากน้อยเพียงใดก็ต้องพิจารณาจากคุณลักษณะดังต่อไปนี้
1. ลักษณะรูปร่างของใบ
2. ลวดลายหรือสีสันใบ
3. ลวดลายของเส้นใบ
4. การจัดรูปเรียงใบบนต้น
5. เนื้อของใบ

การปลูก

ในการปลูกต้นไม้ประดับมีวิธีการปลูกขึ้นอยู่กับชนิดพันธุ์ของต้นไม้ประดับที่เราเลลือกปลูก ซึ่งก็มีทั้งการปลูกในกระถางตั้งและกระถางแขวน เดี๋ยวนี้เรามีวิธีปลูกไม้ประดับวิธีใหม่กันแล้ว โดยใช้แท่งเพาะชำ ซึ่งสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ประยุกต์แห่งประเทศไทย ได้คิดค้นขึ้นมาเป็นผลสำเร็จ

การปลูกไม้ประดับในปัจจุบันจึงสามารถกระทำได้ 3 วิธี ด้วยกันคือ
1. การปลูกในกระถาง
การเลือกกระถางปลูกนั้นควรเป็นกระถางดินเผาที่มีขนาดและรูปทรงของกระถางเข้ากันกับขนาดและรูปทรงของต้นไม้ ดังนี้
- ทรงต้นเล็กใส่กระถางเล็ก
- ทรงต้นใหญ่ใส่กระถางใหญ่
- ทรงต้นสูง เช่น ปาล์ม ไผ่ฟิลิปินส์ ไผ่ ไทร พิกุล สาวน้อยประแป้ง เขียวหมื่นปี หวายเขียว ควรใช้กระถางทรงสูง
- ทรงต้นเตี้ยพุ่มใบต่ำหรือลำต้นทอดเลื้อย เช่น เฟิร์น ราชินีหินอ่อน เกล็ดปลา เศรษฐีเรือนนอกเรือนใน หนวดปลาหมึกด่าง ฯลฯ ควรใช้กระถางทรงต่ำ
สำหรับกระถางเคลือบ กระถางโมเสส หรือกระถางลายคราม ถ้าไม่จำเป็นไม่ควรใช้ปลูกโดยตรง เพราะเนื้อกระถางไม่สามารถระบายอากาศได้เป็นสาเหตุให้ดินในกระถางแฉะ เกิดรากเน่า นอกจากนี้ ยังเสี่ยงต่อการแตกเสียหายขณะยกเข้าหรือย้ายออก ที่เหมาะสมแล้ ควรใช้กระถางรองด้านนอก โดยเอาต้นไม้ปลูกใส่กระถางดินเผาธรรมดา แล้วนำไปตั้งปลูกในกระถางเคลือบหรือกระถางลายครามเหล่านั้นอีกครั้ง

2. การปลูกในกระถางแขวน
สำหรับไม้ใบประดับที่นิยมใช้ปลูกแขวนตกแต่ง เช่น พลูด่าง เดรฟ ปีกแมลงสาบ และเฟิร์น ซึ่งเป็นไม้แขวนที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย หรือต้นแมงมุม ต้นลิปสติก ต้นปลาบ หรือไม้เถาทั้งหลาย ก็ใช้ปลูกในกระถางแขวนประดับในทำนองที่กล่าวมานี้ได้

3. การปลูกในแท่งเพาะชำ
แท่งเพาะชำนี้ ส่วนบนของแต่ละแท่งจะมีรูไว้สำหรับใส่เม็ดหรือสำหรับปักชำ ข้อดีของการใช้แท่งเพาะชำในการปลูกไม้ประดับพวกที่ใช้แขวนก็มีดังนี้คือ
3.1 แท่งเพาะชำเป็นแท่งสำเร็จรูป สามารถนำไปใช้งานได้ทันที
3.2 ใช้สะดวก ไม่สกปรกเลอะเทอะเหมือนการใช้ดินปลูก
3.3 การปลูกทำได้สะดวกและรวดเร็ว เพียงแต่ใช้ยอดปักชำลงในรูบนแท่งเพาะชำก็เป็นอันใช้ได้
3.4 การดูแลรักษาทำได้ง่าย เนื่องจากแท่งเพาะชำสามารถเก็บความชื้นได้ดี จึงไม่จำเป็นต้องรดน้ำบ่ิยครั้ง
3.5 การให้ปุ๋ยก็สามารถตัดปัญหาได้มาก เนื่องจากในแท่งเพาะชำมีธาตุอาหารที่พืชต้องการอยู่พร้อมแล้ว นอกจากให้ปุ๋ยเสริมในบางโอกาสเพื่อให้ต้นไม้สวยงามเป็นพิเศษ

ปลาดุกอุย

ปลาดุกอุย
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา
ปลาดุกอุย
?Clarias macrocephalus Günther, ค.ศ. 1864


การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์[ซ่อน]

อาณาจักร Animalia
ไฟลัม Chordata
ชั้น Actinopterygii

อันดับ Siluriformes
วงศ์ Clariidae

สกุล Clarias
สปีชีส์ C. macrocephalus
ข้อมูลทั่วไป[ซ่อน]
ชื่อวิทยาศาสตร์ Clarias macrocephalus Günther, ค.ศ. 1864
ปลาดุกอุย หรือ ปลาอั้วะชื้อ (อังกฤษ: Broadhead catfish, Günther's walking catfish ; ชื่อวิทยาศาสตร์: Clarias macrocephalus) เป็นปลาน้ำจืดในวงศ์ Clariidae มีกระดูกท้ายทอยยื่นแหลมออกไปลักษณะคล้ายรูปสามเหลี่ยม ลำตัวสั้นป้อมกว่าปลาดุกด้าน ลำตัวมีสีดำปนเหลือง มีจุดขาวเล็ก ๆ เรียงเป็นแถวขวางลำตัวหลายแถว มีครีบหลังสูงกว่าปลาทั่วไปมาก สามารถเคลื่อนที่บนบกได้เป็นระยะทางสั้น ๆ โดยใช้ครีบช่วย พบได้ในพื้นที่แถบประเทศไทยไปจนถึงเวียดนาม และมีการนำไปเลี้ยงในประเทศจีน มาเลเซีย เกาะกวม และฟิลิปปินส์

บางคนเข้าใจผิดว่าปลาดุกอุยคือปลาดุกด้านตัวเมีย แต่ที่จริงเป็นปลาคนละสายพันธุ์กัน ปลาดุกอุยเป็นที่นิยมของผู้บริโภคชาวไทยและชาวลาวมากกว่าปลาดุกด้าน เนื่องจากเนื้อมีรสชาติมัน อร่อย มีราคาที่สูงกว่าปลาดุกด้าน จึงได้มีการเพาะเลี้ยงและผสมเทียมในบ่อ แต่ปัจจุบันได้นำมาผสมกับปลาดุกเทศ (Clarias gariepinus) เป็นปลาลูกผสม เรียกว่า "บิ๊กอุย" ทำให้โตเร็วและเลี้ยงง่ายกว่าปลาดุกอุยแท้ ๆ ซึ่งได้มีการเพาะเลี้ยงอย่างแพร่หลาย

ในภาษาใต้ เรียกปลาดุกอุยว่า "ดุกเนื้ออ่อน"

วันพุธที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2552

โรคไข้หวัดใหญ่











โรคไข้หวัดและไข้หวัดใหญ่
เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส เกิดได้ทุกเพศทุกวัย ระบาดได้ตลอดปีมักเกิดในช่วงที่มีอากาศเปลี่ยนแปลง เช่น ฤดูฝนต่อกับฤดูหนาว
ไข้หวัดและไข้หวัดใหญ่สามารถติดต่อจากคนหนึ่งไปยังอีกคนหนึ่ง โดย :
1. หายใจเอาเชื้อโรคเข้าไป
2. สัมผัสกับน้ำมูกและน้ำลายและเสมหะของผู้ป่วย
3. ใช้สิ่งของร่วมกับผู้ป่วย
อาการ
ปากแห้ง คอแห้ง แสบคอ คันคอ คัดจมูก น้ำมูกไหล ไอจาม อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยตามตัว อาจมีไข้หรือไม่มีก็ได้ ส่วนไข้หวัดใหญ่จะมีไข้หนาวสั่น อ่อนเพลีย ปวดศีรษะโดยเฉพาะบริเวณหน้าผากและกระบอกตา ปวดกล้ามเนื้อ ปวดเมื่อยตามตัว ต่อมาจะมีอาการคัดจมูก น้ำมูกไหล ไอ เจ็บคอ เคืองตา หน้าตาแดง อาการมักจะเป็นอยู่ 2-4 วัน แล้วไข้จะลดลง
ภาวะแทรกซ้อนของไข้หวัด
1. น้ำตาไหล กลัวแสง หนังตาบวม เยื่อบุตาอักเสบ
2. ปวดหู หูน้ำหนวก
3. หลอดลมอักเสบ กล่องเสียงอักเสบ
4. ปอดบวม
ภาวะแทรกซ้อนของไข้หวัดใหญ่
1. หูน้ำหนวก
2. หลอดลมอักเสบ
3. ปอดบวม ปอดอักเสบ
4. กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ
5. สมองอักเสบ
การรักษา
1. พักผ่อนมากๆ และอยู่ในห้องที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก
2. กินอาหารที่มีประโยชน์และย่อยง่าย ควรดื่มน้ำมากๆ
3. ไม่ควรอาบน้ำ แต่ควรเช็ดตัว
4. ปิดจมูก ปาก เวลาไอหรือจาม และบ้วนน้ำลายลงในภาชนะที่ใส่ยาฆ่าเชื้อโรค
5. ควรพบแพทย์และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์
6. ควรหยุดพักงานหรือการเรียนชั่วคราว จนกว่าจะหายเป็นปกติ เพื่อป้องกันการแพร่ของเชื้อโรค
ข้อแนะนำในการป้องกัน
1. กินอาหารที่เป็นประโยชน์
2. ออกกำลังกายและพักผ่อนนอนหลับและทำอารมณ์ให้แจ่มใสอยู่เสมอ
3. หลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่แออัดยัดเยียด
4. รักษาร่างกายให้อบอุ่นอยู่เสมอ
5. อย่าคลุกคลีกับผู้ป่วยโดยเฉพาะอย่าใช้ของร่วมกับผู้ป่วย

โรคหัวใจ

  1. โรคหัวใจ

















    หัวใจคนเรามี 4 ห้อง แบ่งซ้าย-ขวาโดยผนังของกล้ามเนื้อหัวใจ และแบ่งเป็นห้องบน-ล่างโดยลิ้นหัวใจ


    โดยทุกๆ วัน หัวใจจะเต้นประมาณ 100,000 ครั้ง และสูบฉีดเลือดประมาณวันละ 2,000 แกลลอน


    วงจรการไหลเวียนของเลือด : จะเริ่มจาก หัวใจห้องขวาบนรับเลือดดำจากส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น แขน ขา เลือดส่วนนี้จะไหลผ่านลิ้นหัวใจไตรคัสปิด (Tricuspid) ไปยังหัวใจห้องขวาล่าง ซึ่งจะบีบตัวตามมาไล่เลือดที่เป็นเลือดดำออกไปฟอกที่ปอด โดยผ่านหลอดเลือดที่เรียกว่า Pulmonary Artery เลือดจะถูกฟอกที่ปอดโดยอาศัยการแลกเปลี่ยน gas ผ่านทางหลอดเลือดเล็กๆ ที่ผนังถุงลมของปอด จากนั้นเลือดที่เป็นเลือดแดงจะไหลมารวมกันที่หลอดเลือดใหญ่ ซึ่งเรียกว่า Pulmonary Vein เพื่อไหลกลับเข้าสู่หัวใจอีกครั้งที่ห้องซ้ายบน เลือดจะไหลจากห้องซ้ายบนมาห้องซ้ายล่าง โดยผ่านลิ้นหัวใจไมตรัล (Mitral) เมื่อเลือดแดงอยู่ในห้องหัวใจซ้ายล่างแล้วก็พร้อมที่จะถูกฉีดออกไปเลี้ยงร่างกายทางหลอดเลือดแดงใหญ่ Aorta ผ่านลิ้นหัวใจเอออร์ติด (Aortic) เมื่อผ่านส่วนต่างๆ แล้ว เลือดจะกลับสู่หัวใจด้านขวาอีกครั้ง
    โรคลิ้นหัวใจ ที่เป็นปัญหามากที่สุดคือ ลิ้นหัวใจพิการ รูมาห์ติค ซึ่งเป็นผลจากการติดเชื้อคออักเสบ ลักษณะของการที่เกิด คือ เหนื่อยง่ายเวลาออกกำลัง อ่อนเพลีย ไอเรื้อรังและมักไอเวลากลางคืน ไอแห้ง มีอาการใจสั่น ไอเป็นเลือด เป็นลมไม่รู้สติ เจ็บหน้าอก หลอดเลือดที่คอเต้นแรง ผอมแห้ง มีอาการบวม หอบเหนื่อย นอนราบไม่ได้ การตรวจเอ็คโค่ (Echo) จะช่วยบอกถึงรายละเอียดของความผิดปกติของหัวใจได้
    โรคหลอดเลือดหัวใจ เกิดได้จากหลายสาเหตุ แต่ที่พบได้บ่อยที่สุด เกิดจากการสะสมของไขมันที่ผนังหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดหัวใจตีบและตันในที่สุด
    โรคกล้ามเนื้อหัวใจ : กล้ามเนื้อหัวใจทำงานผิดปกติไม่ว่าจะบีบ หรือคลายตัว กล้ามเนื้อหัวใจหนากว่าปกติ เป็นต้น ซึ่งโรคที่พบบ่อยคือ โรคกล้ามเนื้อหัวใจเสีย เนื่องจากความดันโลหิตสูงที่ไม่ได้รับการรักษามานาน กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดหรือกล้ามเนื้อหัวใจตายบางส่วน เนื่องจากหลอดเลือดหัวใจตีบหรือตัน เป็นต้น
    อาการเจ็บหน้าอกที่เกิดจากโรคหัวใจขาดเลือด

    1.
    เจ็บแน่นๆ อึดอัดบริเวณกลางหน้าอกอาจจะเป็นด้านซ้ายหรือทั้งสองด้าน และมักจะไม่เป็นด้านขวาด้านเดียว บางรายจะร้าวไปที่แขนซ้ายหรือทั้งสองข้าง หรือจุกแน่นที่คอ บางรายเจ็บบริเวณกรามคล้ายเจ็บฟัน

    2.
    อาการตามข้อ 1 เกิดขึ้นขณะออกกำลัง เช่น เดินเร็วๆ รีบขึ้นบันได วิ่ง โกรธโมโห อาการดังกล่าวจะดีขึ้นเมื่อหยุดออกกำลัง

    3.
    ในบางรายที่อาการรุนแรง อาการแน่นหน้าอกอาจเกิดขึ้นในขณะพัก เช่น นั่ง หรือ นอน หลังอาหาร

    4.
    กรณีที่เกิดหลอดเลือดหัวใจอุดตัน กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน อาการจะรุนแรงมาก อาจมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น เหงื่อออกมาก เป็นลม อาการเช่นนี้ยังพบได้ในโรคของหลอดเลือดแดงใหญ่ปริหรือฉีก
    ขาบวม : อาการขาบวมเกิดจากการที่ร่างกายมีเกลือ (โซเดียม) และน้ำคั่งอยู่ในร่างกาย โดยอาจเกิดจากโรคไตขับเกลือไม่ได้ โรคหลอดเลือดดำอุดตัน การไหลเวียนไม่สะดวก ขาดอาหาร โปรตีนในเลือดต่ำ โรคตับ ยาและฮอร์โมนบางชนิด โรคหัวใจ หรือในบางรายอาจไม่พบสาเหตุ การบวมในผู้ป่วยโรคหัวใจเกิดจากการที่หัวใจด้านขวาทำงานลดลง เลือดจากขาไม่สามารถไหลเทเข้าหัวใจด้านขวาได้โดยสะดวก จึงมีเลือดค้างที่ขามากขึ้น
    ภาวะหลอดเลือดแดงแข็งตัวผิดปกติ เป็นผลมาจากการสะสมของไขมันและแคลเซียมในผนังของหลอดเลือดแดง ภาวะนี้เป็นความเสื่อมของหลอดเลือดที่เกิดขึ้นทั่วร่างกาย ทำให้หลอดเลือดแดงเสียความยืดหยุ่น เกิดการตีบตัน ผลที่ตามมาคือ อาจเป็นอันตรายถึงชีวิต เช่น หลอดเลือดเลี้ยงหัวใจตีบ ตัน เกิดอาการเจ็บหน้าอก กล้ามเนื้อหัวใจตาย หรือหลอดเลือดเลี้ยงสมองตีบ ทำให้เกิดอัมพาต เป็นต้น หากคุณมีโอกาสลองคลำหลอดเลือดแดงหรือชีพจรที่ข้อศอกด้านในหรือข้อมือของผู้สูงอายุจะพบว่า เป็นเส้นแข็งไม่ยืดหยุ่นเหมือนวัยหนุ่มสาว ทั้งนี้เนื่องจากว่าหลอดเลือดแดงเหล่านี้เกิดการเสื่อมสภาพตามอายุ มีไขมันและหินปูน (แคลเซียม) เข้าไปสะสมอยู่ตามผนังของหลอดเลือดแดง ทำให้หลอดเลือดเสียความยืดหยุ่นและแข็ง ซึ่งหินปูนนี้ไม่เกี่ยวข้องกับปริมาณแคลเซียมในเลือดหรืออาหารที่เรารับประทาน ความจริงแล้วมีหลายปัจจัยที่ทำให้หลอดเลือดแดงเกิดการเสื่อม เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน บุหรี่ เป็นต้น แต่ “ อายุ ” ก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญมากและเราไม่อาจเลี่ยงได้ หลอดเลือดแดงที่เสื่อมนี้จะเกิดขึ้นทั่วร่างกาย ทั้งหลอดเลือดที่เลี้ยงสมอง หัวใจ ไต ฯลฯ และแน่นอนเมื่อเกิดการเสื่อมก็จะเกิดการตีบตันของหลอดเลือดเล็กๆ ตามมา เป็นผลให้เลือดเลี้ยงสมองลดลง เกิดเนื้อสมองตายเป็นบางส่วน กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด กล้ามเนื้อหัวใจตาย ไตเสื่อม
    ความดันโลหิตสูง : สาเหตุของการที่ความดันโลหิตสูงพบบ่อยเมื่อมีอายุมากขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากหลอดเลือดแดงแข็งตัวผิดปกติ บางส่วนเป็นผลจากการที่ไตขาดเลือดไปเลี้ยง การลดความดันโลหิตที่สูงลง ก็จะช่วยลดอัตราการเสี่ยงต่อการเกิดอัมพาตและลดปัญหาจากโรคหัวใจขาดเลือดด้วย ความดันโลหิตในผู้ใหญ่ไม่ว่าจะอายุเท่าไรก็ตาม ควรจะน้อยกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอท
    หัวใจเต้นผิดจังหวะ : หัวใจเต้นผิดจังหวะที่พบได้บ่อย คือ จากห้องบนหรือที่เรียกว่า atrial fibrillation (AF) ชนิดนี้พบได้ในผู้ป่วยโรคปอด โรคหัวใจขาดเลือด โรคลิ้นหัวใจ โรคกล้ามเนื้อหัวใจบางชนิด โรคความดันโลหิตสูง และพบได้บ่อยในผู้สูงอายุ ในผู้ป่วยที่มีอาการหัวใจเต้นผิดปกติชนิดนี้ อาจเกิดลิ่มเลือดเล็กๆ ขึ้นภายในหัวใจ ลิ่มเลือดเล็กๆ เหล่านี้อาจหลุดลอยไปอุดหลอดเลือดเลี้ยงสมองได้ และเป็นต้นเหตุของการเกิดอัมพฤกษ์ อัมพาตขึ้น
    ปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจขาดเลือด : อายุ พันธุกรรม การสูบบุหรี่ ไขมัน โคเลสเตอรอล ความดันโลหิตสูง ความเครียด เบาหวาน ถ้าหากมีปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้มากเท่าไหร่ โอกาสที่จะเกิดโรคก็มากขึ้นเป็นทวีคูณ







    แหล่งข้อมูล : หนังสือ - เป็นโรคหัวใจทำอย่างไรดี



    ข้อมูลสุขภาพที่เกี่ยวข้อง

    ขจัดสี่วายร้ายให้ไกลตัว

    โรคหลอดเลือดหัวใจ

    รักหัวใจ ใส่ใจโคเลสเตอรอล

    เมื่อหัวใจต้องไปเกี่ยวข้องกับความดันโลหิตสูง

    โรคเบาหวานส่งผลต่อหลอดเลือดหัวใจ


สามารถ



tae...music